วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

แสวงหาความรู้ เคล็ดลับเรียนดี



"การศึกษาไม่มีคำว่าสาย" ข้อความนี้หลายคยคงเคยได้ยินและทราบความหมายกันเป็นอย่างดี เพราะไม่ว่าจะอายุมากแค่ไหนก็สามารถเรียนกันได้ทั้งนั้น บางคนจบปริญญาตรีตอนอายุ 60 ก็ยังมี ซึ่งก็เป็นความภาคภูมิใจส่วนตัว และเกียรติแก่วงศ์ตระกูลต่อไป



การหาความรู้ ความจริงแล้วไม่จำเป็นต้องเข้าสถาับันการศึกษา แต่เราสามารถหาความรู้เพิ่มพูนปัญญาของตนเองได้ทุกที่ ทุกเวลา เพราะหากยิ่งเรารู้มากแค่ไหนประโยชน์ต่าง ๆ ก็จะเกิดกับเรามากขึ้นแค่นั้น

คนที่เรียนเก่งมักจะบอกว่าตนไม่ค่อยรู้อะไรมาก และพวกเขาก็จะหาความรู้มาใส่สมองอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแหล่งความรู้ ไปทางไหนก็มีให้เก็บเกี่ยวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นห้องสมุด อินเตอร์เน็ต นิตยสาร หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ เป็นต้น ความรู้เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเป็นข้อมูลทางวิชาการเพียงอย่างเดียวเท่านั้น อาจจะเป็นการพบไอเดียใหม่ ๆ ความบันเทิง ดนตรี เพลง หรืออะไรก็ได้ ที่จะช่วยพัฒนาความรู้และสติปัญญาของเรา

การเป็นคนที่ไม่ขาดความรู็จะทำให้เราทันโลก ทันเหตุการณ์และไม่มีทางตกข่าว ส่วนการเรียนของเราก็จะฝึกคิดได้มากขึ้น สามารถนำสิ่งต่าง ๆ มาเรียงร้อยเป็นข้อความใช้ในการตอบข้อสอบได้อีกด้วย

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รู้จักการต่อสู้ที่เหมาะสม เคล็ดลับเรียนดี



เราทราบกันดีอยุ่แล้วว่า การรู้จักวางเป้าหมายให้ตรงกับตัวเองทำให้เรามีแนวทางที่จะก้าวต่อไปในอนาคต แต่ก่อนที่เราจะเดินไปถึงเป้าหมายต่าง ๆ ที่เราวางไว้นั้นเราต้องรู้จักการต่อสู้บ้างเช่นกัน

การต่อสู้ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการแข่งกันเรียน เพื่อให้ได้เป็นที่หนึ่งของระดับชั้น การแข่งขับแบบนี้ทำให้เราเกิดความตึงเครียดและเรียนอย่างไม่มีความสุขเลย การแข่งขันที่ควรจะทำนั้นคือการแข่งขันกับตัวเราเอง

การแข่งขันกับตัวเองทำได้ง่าย ๆ โดยเริ่มจากถ้าเป็นคนตื่นสายต้องบอกตัวเองและทำให้ได้ที่จะตื่นเช้า เพราะตื่นก่อนก็จะได้ทบทวนตำราเรียนมากขึ้น หรือจะเป็นเรื่องของการอ่านหนังสือวันแรกอ่านได้ 10 หน้า วันต่อมาก็เพิ่มจำนวนหน้าไปเรื่อย ๆ ทำสถิติก็เป็นการแข่งขันกับตัวเราเอง จากนั้นก็เป็นการสอบ ผลการเรียนเทอมแรก อาจอยู่ประมาณ 2.60 ในเทอมต่อไปก็ให้มันเพิ่มเป็น 2.70 ทำอย่างนี้เรื่อย ๆ ไปอย่างช้า ๆ แต่มั่นคง ก็ช่วยให้การแข่งขันในแต่ละครั้งไม่สิ้นหวังมากเกินไป และจะเป็นเหมือนแรงบันดาลใจในการแข่งขันกับสิ่งแวดล้อมภายนอกต่อไป

ส่วนการที่จะแข่งขันกับผู้อื่นให้คิดว่าเป็นผลพลอยได้จากการแข่งขันกับตัวเองเท่านั้นพอ สิ่งที่สำคัญที่สุดของการแข่งขันคือ การที่ไม่ย่ำหรือทับถมคนอื่นที่อาจเรียนด้อยกว่าเรา เพราะการทำเช่นนั้นไม่ว่าเราจะเก่งสักเพียงใดก็ตาม ล้วนแต่เป็นการกระทำที่ไม่น่าชื่นชมเลยแม้แต่น้อย

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อย่าตีตนไปก่อนไข้ เคล็ดลับเรียนดี


สาเหตุหนึ่งของการเรียนที่ไม่ได้ดั่งใจนัก ส่วนใหญ่มาจากความวิตกกังวลในตัวเอง บางคนตีตนไปก่อนแล้วทั้งที่เรื่องยังไม่เกิด เช่น กลัวว่าจะทำข้อสอบไม่ได้ ข้อสอบต้องยากแน่ ๆ อ่านหนังสือไม่ทันแน่นอน หรือกลัวว่าจะทำการบ้านไม่ทัน อาการตีตนไปก่อนไข้ เช่นนี้เป็นการบั่นทอนความสามารถทางตรงของเราเลยทีเดียว

ตกปกติแล้ว หากเราวิตกกังวลกลัวว่าจะทำอะไรไม่ได้ เราก็ต้องอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนต่าง ๆ ให้มาก เพื่อจะได้เผชิญกับโจทย์ได้ทุกรูปแบบ แต่ก็มีหลายคนที่เมื่อเกิดอาการวิตกกังวลล่วงหน้าแล้ว ทำอะไรไม่ถูกสักอย่าง อ่านหนังสือก็ไม่รู้เรื่อง ยิ่งเร่งยิ่งช้า ซึ่งทำให้การเรียนยิ่งแย่ลงเข้าไปใหญ่

ในทางตรงกันข้าม คนที่มีเหตุผลปล่อยตัวตามสบาย เช่น พอรู้ว่าจะมีสอบก็มีการเตรียมตัวล่วงหน้า อ่านหนังสือเก็บรายละเอียดไปอย่างช้า ๆ แต่มีความเข้าใจในบทเรียนอย่างแท้จริง การเรียนด้วยวิธีแบบนี้จะช่วยให้ประสบความสำเร็จ แบบสบายตัว สบายใจ และจิต

ดังนั้นต้องฝึกสังเกตตนเองก่อนว่าเรานั้นเป็นคนตีตนไปก่อนไข้แบบไหนกันแน่ ถ้าเป็นแบบวิตกแล้วเตรียมความพร้อมก็เป็นได้ แต่ถ้าหากวิตกแบบสับสนทำอะไรไม่ถูกก็คงต้องระวังหน่อย และหาทางเลิกนิสัยแบบนี้ทันทีก่อนจะสายเกินไป

กำจัดความเกียจคร้าน เคล็ดลับเรียนดี

ความเกียจคร้านเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำทุก ๆ อย่าง รวมทั้งเรื่องการเรียนก็เช่นเดียวกัน ความเกียจคร้านอยู่กับกิจกรรมการเรียนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเกียจคร้ายตื่นไปเรียน ขี้เกียจเรียนวิชานี้ ขี้เกียจอ่านหนังสือ ขี้เกียจทำการบ้าน ความขี้เกียจหลายรูปแบบเหล่านี้เป็นโทษต่อผลการเรียนอย่างแน่นอน

ความเกียจคร้านทำให้เวลาในการทำกิจกรรมที่น่าจะมีมากกลับลดลงไปในพริบตา เช่น อาจารย์สั่งทำการบ้านจะต้องส่งในอาทิตย์หน้า ความเกียจคร้านจะบอกเราว่าให้ทำวันอื่นก็ได้ยังมีเวลาอีกมาก ตอนนี้ขอเล่นเกมส์ ขอนอนก่อน หรือดูโทรทัศน์ก่อนจะดีกว่า แต่ถ้าหากส่งทันงานก็ไม่มีคุณภาพเลย



ในเรื่องของการอ่านหนังสือก็เช่นกัน คนขยันจะอ่านหนังสือทบทวนไปเรื่อยจนกระทั่งวันสอบ ก็ไม่ต้องเตรียมตัวมาก แต่คนเกียจคร้านจะผลัดวันประกันพรุ่งไปก่อนเห็นว่ามีเวลาอีกนาน และพอใกล้สอบก็อ่านหนังสือไม่ทันแน่อย่างนอน

หากตัดนิสัยจอมเกียจคร้านนี้ออกไปได้ รับรองได้เลยว่าเรื่องที่ผลการเรียนไม่เป็นที่น่าพอใจ จะกลายเป็นแค่อดีตไปอย่างแน่นอน

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ดนตรีช่วยเสริมความจำ เคล็ดลับเรียนดี

อารมณ์มีส่วนสำคัญต่อการเรียนอย่างมาก ความเบื่อหน่าย เซ็งกับเรื่องส่วนตัวอื่น ๆ ก็มีผลต่อการเรียนไม่น้อยเลยทีเดียว การบำบัดอารมณ์ให้สดใสอยู่เสมอ จะช่วยกระตุ้นให้การพัฒนาการเรียนรู้ให้เป็นไปในทางที่ดียิ่งขึ้น

หลักการความจำความรู้หรือเนื้อหาต่าง ๆ ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แล้วแต่ละความสามารถและความถนัด บางคนใช้การจด บทคนทำเป็นแผ่นภาพ บางคนเขียนแปะให้เห็นชัด หรือบางคนอัดเทปไว้ฟัง แต่มีวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้การฟังละการอ่านของเรามีประสิทธิภาพดีขึ้น นั่นคือการฟังเพลงเบา ๆ สบาย ๆ



การฟังเพลงจะช่วยให้บทเรียนที่ตึงเครียดที่เรากำลังอ่านอยู่ดูไม่รุนแรงจนเกินไป ที่สำคัญไม่เงียบมาก หรือดังจนเกินไป เมื่ออารมณ์ของเราพร้อมที่จะรับข้อมูลต่าง ๆ สมองก็จะจดจำได้เองโดยอัตโนมัติ

การใช้เพลงร่วมกับการทำอารมณ์เช่นนี้ใช้ได้กับบางคนเท่านั้นเพราะสำหรับคนอื่น ๆ อาจจะต้องการความเงียบสงบเท่านั้น เสียงต่าง ๆ ที่เข้ามาเป็นการทำลายสมาธิก็มีอยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้นควรเลือกวิธีที่เหมาะสมกับตัวเองให้มากที่สุด เพื่อจะได้รับความรู้อย่างเต็มที่

แบบฝึกหัดสำคัญมาก เคล็ดลับเรียนดี




แม้ว่าเราจะต้องตั้งใจเรียนเพื่อให้เข้าใจบทเรียนและตำราแล้ว สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ การฝึกใช้สิ่งที่เรามีอยู่ในหัวสมองมาอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวได้ การฝึกใช้ความรู้คือการทำแบบฝึกหัดและทดสอบความรู้ของตนเองได้ดีที่สุด

ความรู้ในตำราเรียนนั้น เช่น เรารู้ว่าเลือดนั้นแบ่งเป็น 4 กรุปเลือด ได้แก่ A B AB และ O จากนั้นเราต้องรู้ว่าการถ่ายเลือดต้องถ่ายจากกรุปไหนไปกรุปไหนได้บ้าง ดังนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุอาจจะเป็นเพื่อน เป็นญาติ หรือตัวเอง เราต้องรู้ว่าเขาต้องใช้เลือดชนิดใด ความรู้ที่เรามีอยู่ควรนำมาใช้ในชีวิตประจำวันบ้าง ซึ่งจะช่วยให้เราจำได้ดีขึ้น

หรือเราเรียนเรื่องกฎแรงโน้มถ่วง หรือแรงดึงดูดของโลกมาจนจบบทเรียน ทฤษฎีแน่นปึก แต่เรากลับมาอธิบายไม่ได้ว่าทำไมของต่าง ๆ ต้องตกลงสู่พื้นดิน อย่างนี้เป็นการเรียนที่ไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย

การเรียนที่ถูกต้อง และสัมฤทธิผลจะต้องสามารถนำไปใช้และอธิบายได้ การเรียนแต่แค่ในหนังสือนำมาใช้ไม่ได้ ถือว่าการเรียนนั้นไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ แก่ตัวนักเรียนเลย

สมาธินั้นสำคัญมาก เคล็ดลับเรียนดี


การเรียนให้ดีนั้น เวลาเข้าเรียนต้องพร้อมทั้งตาที่จ้องไปที่อาจารย์ผู้สอน หูฟังที่อารารย์พูด หรือเพื่อนถามตอบกัน มือจดบันทึกสิ่งที่ได้เห็นและได้ยิน สมองต้องคิดตามสิ่งต่าง ๆ ที่ครูสอนความพร้อมในทุก ๆ เรื่องเช่นนี้ต้องอาศัยสมาธิของเราเป็นหลัก

การเกิดสมาธิของเรานั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ด้านทั้งความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว ภาวะอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง หรือเหตุการที่เกิดกับชีวิต สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดปัญหาและทำลายสมาธิของเราลงได้ เมื่อใดก็ตามที่เราเข้าห้องเรียน เราต้องตัดความวุ่นวายใจอันก่อให้เกิดการทำลายสมาธิไปให้หมด เพราะไม่อย่างนั้น จะเรียนไม่รู้เรื่องแน่นอน ตาก็เหม่อลอย หูก็จะได้ยินแต่เสียงกระทบจิตใจ มือจะเขี่ยปากกา สอมงจะคิดแต่เรื่องที่เจอมา สมาธิของเราจะไม่มี แล้วเราจะไม่พร้อมสักอย่าง

การสร้างสมาธิอาจจะไม่ต้องถึงกับการนั่งสมาธิสัก 10 นาทีก่อนเข้าเรียน แต่อาจเป็นการหลับตาลงสัก 1 นาที แล้วบอกตัวเองว่าจะเรียนแล้ว เลิืกคิดเรื่องอื่นก็น่าจะดีมากขึ้น

การจำตัวอย่าง เคล็ดลับเรียนดี

เนื้อหาของบางวิชาอาจจะค่อนข้างมาก และถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างหนักสำหรับการจำรายละเอียด หรือบทสรุปของแต่ละวิชา ดังนั้นการดึงเอาเทคนิคการเตือนความจำมาใช้ ก็จะช่วยตรงเรื่องนี้ได้มากเลยทีเดียว



เคล็ดลับการจำที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ การจำตัวอย่างของบทเรียน หรือเนื้อหานั้น ๆ เช่น หนังสือเล่มหนึ่งเราเรียนมาถึงบทหนึ่งที่พูดถึงแรงโน้มถ่วงของโลก ว่าวัตถุต่าง ๆ จะตกลงสู่พื้นโลก เพราะมีแรงดึงดูดแล้วครูก็ยกตัวอย่างการโยนอิฐและสำลีลงมา ของทั้งสองตกลงมาด้านล่างแต่แตกต่างกันตรงระยะเวลาที่ตกลงถึงพื้น เพราะน้ำหนักของสองอย่างมีความต่างกัน

สิ่งที่เราจดจำคือ การโยนอิฐและสำลี เมื่อนึกและจำภาพเรื่องราวของตัวอย่างออก ความเข้าใจเรื่องนั้น ๆ ก็เกิดขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ โดยเราไม่ต้องเครียดเลย

การจำแบบฝึกหัดนอกจากจะช่วยให้เราจำบทเรียนง่ายขึ้นแล้ว ยังทำให้เราเข้าใจและอธิบายเรื่องนั้น ๆ ได้อย่างดียิ่งขึ้นด้วย การจำเรื่องราวเช่นนี้เป็นการจำที่ไม่น่าเบื่อ และถือเป็นการเรียนที่สนุก ความอยากเรียนจะขึ้น ผลการเรียนย่อมเป็นเรื่องที่น่าพอใจอย่างแน่นอน

วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แบ่งปันรายละเอียดกับเพื่อน ๆ เคล็ดลับการเรียนดี



การจดบันทึกในขณะเรียนนั้น มีความสำคัญต่อการเรียนอย่างมาก เพราะช่วยในการเก็บรายละเอียดของเนื้อหาที่เราเรียนได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งเป็นการฝึกสมาธิของเราไปในตัว

เมื่อถึงช่วงสอบ สมุดจดแต่ละรายวิชาเป็นสิ่งที่มีค่ามาก ๆ นอกเหนือไปจากการเรียนหนังสือเรียน เกร็ดน่ารู้ หรือเคล็ดลับ นิยามต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะรวมอยู่ในนี้หมดแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการสอบมากจริง ๆ

ขณะที่เรากำลังบันทึกความรู้ต่าง ๆ ขณะที่เขียนลงไปในสมุดเราแน่ใจหรือไม่ว่าครบถ้วน หรือมีตอนไหนที่เราไม่ได้ฟังบ้างหรือเปล่า ถ้าไม่แน่ใจเรามีวิธีและช่วยได้คือ "สมุดจดของเพื่อน ๆ " นั่นเอง

เพื่อนร่วมชั้นแต่ละคน ส่วนใหญ่ย่ิอมมีการบันทึกข้อมูล และรายละเอียดต่าง ๆ เหมือน ๆ กับตัวเราอยู่แล้ว ดังนั้นการขอสมุดจดเพื่อนมาอ่าน และแบ่งบันของเราให้เพื่อนบ้าง ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อกันทั้งสองฝ่าย

เราจะได้เก็บประเด็นส่วนใหญ่ที่เราอาจจะตกหล่นไป ส่วนเพื่อนก็จะได้ตรวจข้อมูลที่เพื่อนจดนั้นเช่นกัน

การแลกเปลี่ยนรายละเอียดบทเรียนนี้ จะช่วยให้เราเก็บรายละเอียดได้มากกว่าปกติ แต่ต้องจำไว้เสมอว่าเราต้องจดเอง เพราะบางคนอาจเห็นว่าตัวเองจดแย่ ของเพื่อนละเอียดมาก ๆ เลย คิดจะไม่จดอีกแล้ว ต่อไปจะลอกเพื่อนเอา นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ดี แต่่หากเราเห็นของเพื่อนดีกว่าก็ควรจะแก้ไขรายละเอียดของตนให้ดี ให้รายละเอียดอย่างเพื่อนให้ได้ ถือเป็นการพัฒนาตนเองไปด้วยในตัว

ต้องสร้างแรงจูงใจให้ตัวเองบ้าง เคล็ดลับเรียนดี

นักเรียนส่วนใหญ่ที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่น นอกจากเขาจะต้องตั้งใจจริงแล้ว เขาต้องบอกตัวเองเสมอว่า ถ้าทำได้อย่างนี้จะมีรางวัลให้กับตัวเอง



เด็กนักเรียนหญิงคนหนึ่งแชมป์เคมีโอลิมปิก บอกว่านอกจากพ่อแม่จะเป็นกำลังใจและคอยยินดีกับความสำเร็จแล้ว ตัวเขาเองนี่แหละที่ยินดีและให้รางวัลแก่ตัวเองเสมอ โดยในการสอบหรือการอ่านหนังสือแต่ละวัน จะมีกฎเกณฑ์จะมีมาตราฐานว่าต้องทำให้ได้มากน้อยแค่ไหน หากทำได้ก็จะไปดูหนังกับเพื่อนหรือไปชอปปิ้ง การบอกกับตัวเองเช่นนี้นั้นช่วยให้เรามีแรงจูงใจที่จะเรียนขึ้นมาอย่างมาก แต่การทำเช่นนี้ต้องซื่อสัตย์ต่อตัวเอง เช่น ถ้าทำไม่ได้ต้องงดแรงจูงใจอย่างเด็ดขาด เพราะจะได้ฝึกตัวเองมากยิ่งขึ้น

การสร้างแรงจูงใจ ไม่ได้เป็นการหลอกตัวเอง แต่ทำด้วยความซื่อสัตย์ และอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ ซึ่งไม่ต้องมากเกินไป เช่น ถ้าทำได้จะไปต่างประเทศ มันก็เป็นการหลอกตัวเองมากเกินไป

แรงจูงใจเหล่านี้จะทำให้นักเรียนอย่างเรามีความกระตือรือร้อนที่จะเรียน และตั้งใจเรียนสูงขึ้น ซึ่งก็จะทำให้การเรียนของเราเป็นเรื่องที่มีสีสันขึ้นมาไม่น้อยเลยทีเดียว


ต้องรู้เป้าหมายของแต่ละวิชา เคล็ดลับเรียนดี

ปัจจุบัน ในการเรียนแต่ละวิชานั้น ครูผู้สอนจะต้องมีการแจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียนไว้อย่างชัดเจน ว่าต้องการให้เด็กได้เรียนรู้อะไรและเพื่อให้เกิดประโยชน์อะไร หรือทำข้อสอบในส่วนใดได้หลังจากที่จบหลักสูตรของวิชานี้แล้ว



การสอนของครูส่วนใหญ่จะสอนวัตถุประสงค์ของวิชาเหล่านั้นนั่นเอง การเริ่มเรียนด้วยการศึกษาวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของแต่ละวิชา จะช่วยให้เรามองเห็นภาพ และความต้องการของแต่ละวิชาได้ดียิ่งขึ้น

หลังจากทราบวัตถุประสงค์ต่าง ๆ การวางแผนอ่านหนังสือหรือทบทวนบทเรียนก็ง่ายยิ่งขึ้น เราจะอ่านและปฏิบัติเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องที่รายวิชานั้น ๆ ต้องการให้เราสัมฤทธิผลการเรียนตามวัตถุประสงค์นี้เองเราจะไม่หลงประเด็น และรุ้เป้าหมายของเราเป็นอย่างดี ซึ่งถ้ามีการวางแผนมาดีทุกวิชาก็เป็นเรื่องไม่ยาก และไม่น่าเบื่อแน่นอน

บันทึกประจำวัน เคล็ดลับเรียนดี




หัวใจสำคัญของการอ่้านหนังสือ นั่นคือการจดบันทึกสิ่งที่อ่านสรุปใจความสำคัญออกมา และหัวใจสำคัญของการเรียนก็อยู่ที่การจดบันทึกประจำวันเช่นกัน

ในการเรียน หรือการดำเนินชีวิตใน 1 วัน เราต้องรับรู้เรื่องราวต่าง ๆ มากมาย ทั้งจากคำบอกเล่าของครูเกี่ยวกับการเรียนการสอน จากเพื่อน ๆ จากพ่อแม่ และสิ่งที่ตนเองได้พบเห็นมาแต่ละวัน ก็ถือเป็นเรื่องหรือเหตุการณ์ที่ไม่น้อยเลยทีเดียว

การจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จะสามารถช่วยเราจำรายละเอียดคำพูด และเหตุการณ์ประจำวันได้มากขึ้น ดังนั้น การพกสมุดบันทึกเล็ก ๆ ติดตัว ก็น่าจะช่วยพัฒนาความจำของเราให้ดีขึ้น

สมุดบันทึกที่ว่านี้เป็นการบันทึกคำสั่งต่าง ๆ จากครู พ่อแม่ เพื่อน ๆ เช่น เรื่องของการบ้าน การสอบ และรวมไปถึงการบันทึกการนัดหมายต่าง ๆ เช่น การติวข้อสอบ การอบรมต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยเอื้ออำนวยต่อการเรียนมากยิ่งขึ้น

เพราะฉนั้นการเรียนให้ดี จะจำให้ได้ การจดบันทึกสิ่งต่าง ๆ ก็เป็นวิธีที่เราควรปฏิบัติ เพราะจะส่งผลดีต่อการเรียน และการพัฒนาความรู้ของเราอย่างแน่นอนที่สุด

เมื่อเกิดความผิดพลาด เคล็ดลับเรียนดี



ความผิดพลา่ดทางการเรียน เช่น การสอบในสถาบันการศึกษาและโรงเรียนต่าง ๆ อาจทำให้รู้สึกท้อแท้และหมดหวัง จนทำให้ไม่อยากเรียน หรือตั้งใจทำอะไรอีกต่อไป

ในเรื่องของความพลาดหวังนี้ มันสามารถเกิดขึ้นกับเราได้ ตลอดเวลา อาจจะเป็นจังหวะที่เราไม่พร้อม เตรียมตัวไม่เต็มที่ หรือ อาจจะเกิดอุบัติเหตุพลาดจากการสอบ หรือเรื่องสุขภาพ จะด้วยสาเหตุใดก็ตาม เราไม่ควรผิดหวังมากกับความผิดพลาดในครั้งนั้น ๆ

หากเรามองความพลาดหวังให้เป็นบทเรียน และหาข้อบกพร่องของตนเองก็น่าจะเป็นเรื่องดี เพราะในอนาคตเราจะได้ไม่เกิดข้อผิดพลาดนี้อีก กำลังใจในการบอกกับตัวเองว่าจะขยันเรียน จะต่อสู้ต่อไป นับว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่า และเป็นแรงผลักดันให้กับตัวเองมากยิ่งขึ้น

อย่าหวังพึ่งคนอื่น เคล็ดลับเรียนดี



การที่ขาดเรียน โดดเรียน หรือไม่มาเรียนบ่อย ๆ นั้น ความเบื่อหน่ายการเรียนก็จะมีมากขึ้น ๆ จนเราอาจมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนไปเลยก็ได้

นักเรียนที่โดดเรียนส่วนใหญ่มักหวังพึ่งสมุดจดของเพื่อนในชั่วโมงเรียน หรือลอกการบ้านในงานที่ครูสั่ง และลอกข้อสอบ เมื่อถึงเวลาที่ต้องวัดความรู้ การทำเช่นนี้ถือว่าไม่ทำอะไรเองเลย และแถมต้องพึ่งคนอื่นไปเสียทุกเรื่อง

ทางที่ดีที่สุดของการเรียนที่ประสบความสำเร็จ คือการพึ่งพาความสามารถอันเต็มที่ของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเรียน และจดบันทึกวิชาเรียนต่าง ๆ เอง ทำการบ้านต้องพยายามด้วยตนเอง ให้เพื่อนสอนดีกว่าลอกเพื่อน เมื่อเราพร้อมแล้ว ข้อสอบไม่ว่าวิชาไหนก็ตามเราก็ไม่จำเป็นต้องลอกเพื่อนอีกต่อไป

การเข้าเรียน หรือการจดบันทึกด้วยตัวเอง จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้ง่ายขึ้น รู้ว่าข้อความที่เราจดคืออะไร ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าเรายืมของเพื่อนอันไหนเราไม่เข้าใจ เราก็จะไม่เข้าใจอยู่อย่างนั้น และคำตอบก็หาไม่ได้อีกด้วย

ไฮไลต์ตรงจุดสำคัญ เคล็ดลับเรียนดี



ความโดดเด่นและสิ่งที่มีสีสะดุดตาจะช่วยกระตุ้นความจำและเรียกร้องความสนใจแก่สายตาเราได้มากยิ่งขึ้น ที่กล่าวมานี้หมายถึงการใช้ปากกาไฮไลต์ที่ใช้แต้มหรือขีดตรงเนื้อหาสำคัญ ๆ ให้ง่ายต่อการจดจำมากยิ่งขึ้น

แต่เดิมนั้นในเวลาที่เราอ่านหนังสือเรามักจะใช้ดินสอ หรือปากกาขีดเส้นใต้ เพื่อเน้นตรงข้อความหรือแนวคิดที่สำคัญของบทเรียนนั้น ๆ แต่การที่เราใช้ปากกาสีน้ำเงิน ดำ หรือดินสอ ซึ่งเป็นสีค่อนข้างทึบ เรียบ ไม่เด่น เราก็มักจะจำไม่ได้ หาข้อมูลอีกครั้งได้ยาก ดังนั้นเลือกชื้อไฮไลต์ สีแดง สีชมพู เหลือง และเขียว สะท้อนแสงมาใช้ขีดข้อความสำคัญ ๆ จะช่วยให้สายตามองเห็นได้ง่ายยิ่งขึ้น และสีที่สะดุดตานี้เองจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการจดจำต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

หลังจากที่เราใช้ปากกาไฮไลต์จะสะดุดตานั้นจะช่วยให้เราอ่านหนังสือได้ง่ายขึ้น เพราะสามารถกวาดสายตาไปอ่านตรงจุดที่เน้นเอาไว้ ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น ประหยัดเวลาการอ่านได้เป็นอย่างมาก

วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ เคล็ดลับเรียนดี

ในยุคของโลกไร้พรมแดนเช่นนี้ อินเตอร์เน็ตเป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ทันสมัย ที่เรารู้จักกันอย่างดี โดยส่วนใหญ่เรามักจะใช้อินเตอร์เน็ตในหลาย ๆ ด้าน เช่น การติดต่อพูดคุย การซื้อของ การบริการความบันเทิง และรวมทั้งการศึกษาหาความรู้





ปัจจุบันการศึกษาผ่านอินเตอร์เน็ตก้าวหน้ามาก สามารถเรียนได้ถึงระดับปริญาเอก แต่นอกจากการเรียนเช่นนี้แล้ว อินเตอร์เน็ตยังเป็นแหล่งรวมความรู้ระดับโลก นับว่าเป็นคลังความรู้ที่กว้างใหญ่มากเลยทีเดียว

ดังนั้นในการพัฒนาความรู้ และความรอบรู้ให้ตัวเองโดยการนำเทคโนโลยีอย่างอินเตอร์เน็ตมาใช้ ก็จะช่วยสร้างพื้นฐานความรู้ของเราให้กว้างขวางมากขึ้น เพราะปัจจุบันการศึกษาเฉพาะในบทเรียนคงไม่ทันโลก ทันเหตุการณ์มากเท่าไรแล้ว

สำหรับผู้ที่สนใจในการเรียน จะไม่ได้มองอินเตอร์เน็ตเป็นเพียงแค่แหล่ง รวมความบันเทิง การพบปะอีกต่อไป แต่ยังเป็นคลังความรู้ที่จะช่วยพัฒนาสติปัญญาให้เติบโตทันเหตุการณ์มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

อาหารเด็ดยามดึก เคล็ดลับการเรียนดี

เป็นเรื่องธรรมดาที่เวลาเราอ่านหนังสือดึก ๆ ด้วยบรรยากาศที่เงียบสงบ อากาศเย็นก็ทำให้เกิดอาการง่วงเหงา หาวนอนได้อย่างแน่นอน บางคนสัปหงกอ่านอย่างไรก็ไม่รู้เรื่อง ส่วนใหญ่แล้วจะดื่มกาแฟ แก้ง่วงกันทั้งสิ้น แต่การดื่มกาแฟมาก ๆ ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรา



ความจริงแล้วอาหารง่าย ๆ ที่ช่วยให้สมองปลอดโปร่งและสามารถอ่านหนังสือต่อได้ เหมือนกับตื่นนอนใหม่ ๆ นั่นคือไข่ต้ม หากรู้สึกว่าตัวเองง่วงนอนมาก ๆ ก็ต้มไข่เป็ดหรือไข่ไก่สัก 1 ฟอง จากนั้นก็นำมากินโดยจิ้มกับเกลือ ด้วยอาหารมื้อง่าย ๆ ที่ลดอาการหิว อาการง่วงได้ สามารถทำให้การท่องหนังสือในแต่ละคืนของเราบรรลุเป้าหมาย ไม่ถูกทำลายด้วยการที่เราเผลอหลับอย่างแน่นอน

เคล็ดลับนี้ช่วยเพิ่มเวลาในการอ่านหนังสือโดยที่ไม่ทำลายสุขภาพของคุณเลยแม้แต่น้อย อีกทั้งยังมีคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย

บันทึกเทปแล้วเปิดฟัง เคล็ดลับเรียนดี




สังเกตตัวเองบ้างไหมว่าเวลาที่เราฟังเพลงนั้น เพียงไม่กี่รอบนั้นก็จะติดหู และร้องตามได้แล้ว หลักการนี้ก็น่าจะนำมาใช้กับการอ่านหนังสือของเราดูบ้างคงจะได้ผลเช่นกัน

หากเราสามารถนำสมองส่วนขวา ซึ่งเกี่ยวกับศิลปะและการจินตนาการมาใช้มากขึ้น หน่วยความจำในสมองของเราก็จะมากและพัฒนาขึ้นเช่นกัน การฟังเพลงถือว่าเป็นการใช้สมองซีกขวา เพราะเป็นเรื่องของอารมณ์สุนทรียะ

เพราะฉนั้นการนำหลักการเรียวกับการฟังเพลงมาใช้ในการจำบทเรียนก็น่าจะใช้ได้เหมือนกัน ซึ่งการใช้วิธีนี้ก็คือหลังจากการที่เราอ่าน และบันทึกสาระสำคัญของเนื้อหาแล้ว ก็นำเนื้อหาที่ได้ทั้งหมดมาอ่านอัดใสาลงในเทปคลาสเซ็ท จากนั้นเราก็เปิดฟังแทนเพลง แม่จะไม่มีทำนองให้น่าสนใจนัก แต่การฟังอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้เราซึมซับเข้าไปเรื่อย ๆ และในที่สุดก็จะจำและท่องได้ ไม่ต่างอะไรกับเนื้อหาเพลงเลยทีเดียว

ผลัดกันถามและตอบ เคล็ดลับเรียนดี

การอ่านหนังสือให้ได้ผลดีนั้นอาจจะต้องอาศัยเพื่อน หนือคนใกล้ตัว ในการช่วยให้เราอ่านหนังสือได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

เคล็ดลับนี้ก็เป็นเคล็ดลับการท่องหนังสือที่ต้องอาศัยเพื่อนช่วยในการจำบทเรียน นั่นคือผลัดกันถามตอบ จะมีการตั้งคำถามที่เกี่ยวกับเนื้อหาทั้งหมดในบทเรียนนั้น ๆ และผลัดกันถามตอบทีละข้อ การถามตอบนี้จะช่วยให้ผู้ตั้งคำถามและผู้ตอบ จดจำบทเรียนต่าง ๆ ได้ง่ายมากขึ้น



การตั้งคำถามเช่นนี้จะเป็นการเตรียมความพร้อมในบทเรียนได้อย่างถี่ถ้วนมากขึ้น คำถามที่เราตอบได้หมายถึงบทเรียนจุดนั้นเราจำได้แล้ว แต่คำถามใหนที่เราตอบไม่ได้ นั่นบอกให้เรารู้ว่าข้อด้อยของเราอยู่ตรงไหน ก็จะได้เตรียมตัวให้มากยิ่งขึ้น

การถามตอบ เป็นเหมือนการคาดคำตอบ คำถามของครูผู้สอนถือว่าเป็นการทำข้อสอบในชั้นหนึ่งแล้ว ดังนั้นเวลาที่เราเจอข้อสอบก็จะเป็นเรื่องง่าย และไม่ต้องกลัวอีกต่อไป

วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ช่วงใกล้สอบ เคล็ดลับเรียนดี

ตามปกติแล้วหากเรามีแผนการอ่านหนังสือที่ดีแล้ว ความเครียดต่าง ๆ ในเรื่องการเรียนของเราจะไม่เกิดขึ้น เพราะเราไม่ต้องมาเร่งอ่านหนังสือในตอนใกล้สอบ

ความเครียดส่วนใหญ่จะเกิดจากเราเองที่ขาดระเบียบวินัย และการวางแผนในการเตรียมตัวที่ดี จึงทำให้ต้องมาเร่งอ่านหนังสืออย่างหนักมากขึ้น บางคนถึงขนาดอ่านวันต่อวัน ร่างกายส่วนใหญ่ที่โหมอ่านหนังสือแบบอดหลับอดนอนนั้นก็ยิ่งอ่อนเพลีย ตาโหล หน้าซีด เพราะขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ



การอ่านหนังสือที่ดีคือการทยอยอ่านสะสมไปเรื่อย ๆ ส่วนเวลาใกล้สอบเป็นเวลาที่ควรพักผ่อนสมองให้มากที่สุด เพราะช่วงเวลานี้สมองเป็นการฟื้นฟูความจำ สมองจะปลอดโปร่ง เมื่อเข้าห้องสอบสมองก็จะได้สดใสคิดออก ตอบข้อสอบได้อย่างแน่นอน

หากเมื่อใดที่อ่านหนังสือมาก ๆ แล้วเริ่มปวดหัว หรือรู้สึกเครียดมากขึ้น เราควรหากิจกรรมสบาย ๆ ผ่อนคลาด ช่วยลดอาการตึงเครียดดังกล่าว เช่นการฟังเพลง ดูโทรทัศน์ ชมภาพยนต์ ที่สำคัญร้องนอนให้มากเพราะสมองจะมีการพัก และพัฒนาความจำในช่วงนี้

หลัก W5 H1 ยังใช้ได้เสมอ เคล็ดลับเรียนดี




หลัก W5 H1 เป็นหลักสากลที่เรานิยมนำมาใช้จับใจความสำคัญ หรืออธิบายบทเรียน หรือเรื่องราวต่าง ๆ หลัก W5 H1 ประกอบไปด้วย

  • Who ใคร
  • What อะไร
  • Where ที่ไหน
  • When เมื่อไร
  • Why ทำไม
  • และ How อย่างไร

ในการอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาค่อนข้างมาก การจับใจความว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำไม และอย่างไร การตอบคำถามได้ หรือสรุปได้อย่างนี้ นอกจกาจะช่วยให้เข้าใจบทเรียน เรายังสามารถจดจำและจินตนาการได้ง่ายยิ่งขึ้น

ตัวอย่างของการจับใจความที่สำคัญโดยใช้หลัก W5 H1 นี้ เช่น การอ่านประวัติการก่อตั้งสหกรณ์ผู้ผลิตเกลือจังหวัดสมุทรสาคร และจากการอ่านสรุปออกมาโดยใช้หลัก W5 H1 คือ เกษตรผู้ผลิตเกลือ จังหวัดสมุทรสาคร มีการร่วมจัดตั้งขึ้น เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2542 เพื่อจัดตั้งสหกรณ์ชาวนาเกลือ ในการช่วยสร้างอำนาจการต่อรองให้สูงขึ้น จากการสรุปข้างต้น ก็ทำให้เราเข้าใจและรับรู้ประวัติการก่อตั้งสหกรณ์ชาวนาเกลือ จังหวัดสมุทรสาครได้แล้ว

การอ่านหนังสือเรียน หรืออ่านหนังสือเตรียมสอบ ก็ตาม โดนเฉพาะวิชาที่มีการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย อย่างเช่น ภาษาไทน สังคม หรือการอ่านวิชาภาษาอังกฤษ การใช้หลัก W5 H1 เข้ามาช่วยในการสรุปใจความสำคัญจะทำให้การอ่านมีประสิทธิภาพมากขึ้น


วันจันทร์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบเก่ามีคุณค่า เคล็ดลับการเรียนดี

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ การฝึกทำข้อสอบเก่า ๆ ให้มากที่สุด



การทำข้อสอบเก่า ๆ เรามักจะอ่านกันในช่วงการสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย ข้อสอบเก่า ๆ ที่ว่านี้เราอาจจะทำย้อนหลังสัก 5-10 ปี ซึ่งก็จะมีการรวมเล่มทุกวิชาอยู่แล้ว

การฝึกทำข้อสอบจะช่วยให้รู้แนวข้อสอบ หรือเนื้อหาที่ครอบคลุมข้อสอบนั้น ๆ ซึ่งจะช่วยให้เรานำมาเป็นแนวทางในการอ่านหนังสือได้มากทีเดียว การฝึกทำข้อสอบนี้จะทำให้เรารุ้ข้อบกพร่อง หรือจุดอ่อนของตนเองว่าไม่เข้าใจเรื่องไหน จุดไหนบ้างเราจะได้ทบทวน และฝึกหรืออ่านเรื่องนั้น ๆ ให้มากขึ้น และเมื่อถึงเวลาการทำข้อสอบจริง ๆ แล้วจะได้ไม่เกิดความผิดพลาดอีก

เนื่องจากข้อสอบเก่า ๆจะมีการเฉลยคำตอบไว้ในตอนท้ายดังนั้นการทำข้อสอบยังเป็นการประเมินความรุ้ของเราได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเรามากขึ้นอีกด้วย

ใช้ศิลปะพัฒนาความจำ เคล็ดลับการเรียนดี

สมองของคนเรานั้นแบ่งออกเป็น 2 ซีก คือซีกขวาและซีกซ้สย สมองทั้งสองนั้นมีการใช้หรือหน้าที่แตกต่างกัน โดยสมองซีกขวาเราจะใช้ในการสร้างจินตนาการ ศิลปะ และอารมณ์สุนทรีย์ต่าง ๆ ส่วนสมองซีกซ้ายก็ใช้ในส่วนของตรรกะ เหตุผล ภาษา ทฤษีต่าง ๆ



ดังนั้นการใช้ความคิดของคนเรานั้นก็เกี่ยวข้องกับสมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา สมองซีกขวาจึงใช้น้อย และสมองก็เกิดความไม่สมดุลตามมา

นอกจากนี้แล้ว นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นมีความสามารถในเรื่องการจำรูปภาพในทางศิลปะ มากกว่าการจำเนื้อหาหรือเหตุผลในเรื่องวิชาการต่าง ๆ

ด้วยเหตุผลของความจริงทั้งสองประการนี้ ทำให้แนวทางการพํฒนาความจำมีมากขึ้น ซึ่งเป็นการนำรูปภาพมาอธิบายเหตุผลหรือบทเรียนต่าง ๆ เพื่อช่วยให้เราจำได้ง่ายขึ้น และอีกทางหนึ่งก็เป็นการพัฒนาสมองให้มีความสมดุลกันทั้งสองซีก

วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการอ่าน เคล็ดลับการเรียน



อาการเบื่อหนังสือเกิดจากการไม่ว่าเราจะอ่านมากแคไหนก็ตาม ก็ไม่มีวันเข้าใจสักที บางทีเรายังมีวิธีการอ่านที่ไม่ถูกต้องก็เป็นไปได้

การอ่านที่ถูกต้องและได้ผลมีอยู่ 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ซึ่งเริ่มจากการกวาดสายตา การอ่านในชั้นแรกนี้เป็นการอ่านกวาดสายตาตามตัวอักษรไปอย่างรวดเร็วจนจบบทนั้น ๆ การอ่านตอนนี้เราจะได้สัมผัสกับคำต่าง ๆ ในบทเรียน แต่ยังไม่ได้คิดตาม และทำความเข้าใจ ในขั้นแรกนี้ก็เหมือนกับขั้นทำความรู้จักตัวหนังสืออย่างผิวเผิน ไม่มีความเฉพาะเจาะจงอะไรมากนัก

ขั้นตอนต่อไปเป็นการอ่านรอบที่สอง การอ่านรอบนี้ต้องอ่านให้ช้าลงกว่ารอบแรก และขณะอ่านต้องคิดตามและจินตนาการทำความเข้าใจไปด้วย ซึ่งจากการทำความรู้จักในขั้นแรกก็เป็นการทำความเข้าใจกับบทเรียน ดังนั้นการอ่านในขั้นตอนนี้ต้องอาศัยสมาธิค่อนข้างมาก

ขั้นตอนสุดท้ายเกิดพร้อม ๆ กับขั้นตอนที่สอง เพราะเป็นขั้นตอนการจดบันทึกประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่เราจับใจความได้ในตอนที่สอง การบันทึกนั้นจะช่วยให้เราไม่ต้องเสียเวลามาอ่านเนื้อหาทั้งหมดอีกครั้ง แค่เพียงอ่านประเด็นสำคัญที่บันทึกเอาไว้ ก็เพียงพอแล้ว


การกำหนดเวลา เคล็ดลับการเรียนดี



เวลาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน อยู่ที่การรู้จักบริหารเวลาให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่ามากที่สุด ชีวิตที่มีการบริหารเวลาที่พอเหมาะไม่ตึงเกิน หรือหย่อนเกินไป ทางที่จะประสบความสำเร็จก็มีมากเช่นกัน

การจัดสรรเวลาในแต่ละวันนั้นเริ่มจาก การตื่นนอน กินข้าว จากนั้นก็ไปโรงเรียน ช่วงเวลาข้างต้นนี้ เราอาจไม่ต้องบริหารมาก เพราะต้องทำเช่นนั้นอยู่แล้ว แต่หลังจากเลิกเรียนนี่เหลาะเป็นเวลาที่เราควรบริหารให้ถูกต้องและเหมาะสมโดยแบ่งเป็น

เวลาปฏิบัติกิจส่วนตัว ช่วงเวลานี้เป็นการกลับมาถึงบ้าน หลายคนก็รีบเปลี่ยนเสื้อผ้า ดูโทรทัศน์ หรืออาจจะออกกำลังกาย นี่ก็แล้วแต่กิจกรรมของแต่ละคน ช่วงเวลานี้อาจจะมากหน่อย ซึ่งประมาณ 1-2 ชั่วโมง

ส่วนเวลาต่อไป เป็นการแบ่งใช้ส่วนเวลาของการทำการบ้าน ช่วงเวลานี้อาจทำในตอนกลับมาเลยก็ได้ ทำการบ้านถือเป็นการทบทวน บทเรียนในแต่ละวัน ได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญการบ้านจะได้ไม่สะสม ไม่ต้องเร่งทำในเวลาใกล้ส่งอีกด้วย

จากนั้นเป็นการแบ่งช่วงเวลาของการอ่านหนังสือ เราก็มักจะจัดโปรแกรมการอ่านหนังสือในแต่ละวันอยู่แล้ว การอ่านหนังสือไปเรื่อย ๆ เป็นการสะสมความรุ้ให้เพิ่มพูนไปจนสอบนั่นเอง เวลาที่เหลือก็คือการพักผ่อนเพื่อเตรียมตัวเรียนในวันต่อไป

พื้นฐานความรู้ เคล็ดลับเรียนดี



การสร้างตึกหรืออาคารสักหลังหนึ่ง เสาเข็มเป็นจุดที่สำคัญมากที่สุด เพราะเป็นฐานที่รองรับตัวอาคารที่กำลังต่อเติมทั้งหมด หากหลักฐานไม่มั่นคงโอกาสที่ตึกจะพังหรือถล่มก็มีมาก ดังนั้น รากฐานต้องแข็งแรงและมั่นคง เพื่อการตั้งและดำรงอยู่ของอาคารนานเป็นสิบ ๆ ปี

เรื่องของอาคารก็เปรียบได้กับความรู้ของเราแต่ละคน ก่อนที่ความรู้ที่มีจะเพิ่มพูนได้ดังนั้น เราจะต้องมีความรู้เดิม ที่ติดแน่นอยู่ในสมองความจำของเรามาบ้างแล้ว

การปูพื้นฐานทางการศึกษา ความจริงแล้วเราควรเริ่มตั้งแต่เข้าเรียนในชั้นอนุบาล ครอบครับและครูต้องช่วยกันส่งเสริม แนะนำให้เด็กได้รับความรู้ และทำความเข้าใจกับบทเรียนตั้งแต่เริ่มแรกก็จะเป็นการปูพื้นฐานที่ดีที่สุด

ถึงแม้ว่าเราจะปูพื้นฐานให้กับตัวองช้าไปหน่อย คื่อปูตอนโตที่แล้ว ก็ยังไม่สายเพียงแค่เราเริ่มตั้งแต่การตั้งใจเรียนทุกชั่วโมง ทุกวิชา หมั่นทบทวนตำราเรียน ก็จะทำให้พื้นฐานทางวิชาการมั่นคงและแน่นมากยิ่งขึ้น

เด็ก ๆ ส่วนใหญ่มักนิยมเข้าโรงเรียนกวดวิชา เพราะต้องการเรียนเสริมความรู้จากการเรียนในห้องเรียน ความจริงแล้วก่อนที่เราจะจ่ายเงินไปกับการกวดวิชาเราควรแน่ใจว่า พื้นฐานความรู้ของเราแน่นพอแล้ว เพราะโรงเรียนกวดวิชาส่วนใหญ่จะสอนการคิดที่รวดเร็ว และเป็นการเสริม ถ้าหากเราขาดความรู้พื้นฐานเราก็จะไม่เข้าใจในส่วนที่กวดวิชาอยู่ ซึ่งเราจะเสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์

สร้างนิสัยรักการอ่าน เคล็ดลับการเรียนดี


นิสัยรักการอ่าน เป็นนิสัยของผู้ที่ต้องการเรียนรู้ และประสบความสำเร็จในหน้าที่การงาน ผู้ที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานจำนวนมาก มักมีพื้นฐานของการอ่านเห็นหลัก



การอ่านถือเป็นการเปิดโลกทัศน์ ความคิดความอ่านให้กว้างขวางขึ้นโดยไม่ต้องเดินทางไปเองให้เหนื่อย แต่อาศัยการจินตนาการมากขึ้นเท่านั้นเอง นักอ่านส่วนใหญ่ไม่ได้อ่านแต่ตำราเรียนอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะอ่านหนังสืออื่น ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นนวนิยาย การ์ตูน บทความ เรื่องสั้น หนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือแม้กระทั่งถุงกล้วยแขกที่สมัยก่อน มักนำกระดาษมาพับเป็นถุง หนอนหนังสือทั้งหลายเขาอ่านกันถึงขนาดนั้นเลยทีเดียว

การที่เราปลูกนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นแก่ตัวเราเองนั้น จะช่วยให้พื้นฐานทางการเรียนของเรามั่นคงขึ้น ผลการเรียนก็จะดีตามมา

การอ่านทุกเรื่องอย่างในที่นี้คือการอ่านหลากหลายรูปแบบ เราจะได้รับความรุ้ที่หลากหลาย รู้อย่างกว้างขวางมากขึ้น แต่สิ่งที่ควรอ่านควรเป็นอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อตัวเรามากที่สุด ไม่ใช่หมกมุ่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่งจนมากเกินไป

ตารางการอ่านหนังสือ เคล็ดลับการเรียนดี

การจัดตารางการอ่านหนังสือ ก็เหมือนการจัดตารางเรียน เพื่อที่จะควบคุมตนเองให้ได้ทบทวนบทเรียนอย่างส่ำเสมอ การทไให้ได้ตามตารางนอกจากจะสร้างปัญญา ความรู้ได้มากขึ้นแล้ว ยังช่วยควรคุมตัวเราเองให้เป็นคนมีระเบียบวินัย และฝึกความรับผิดชอบมากขึ้นด้วย

ใน 7 วัน ต้องมีการจัดสรรเวลาให้พอดี เช่น วันจันทร์ ภาษาไทย 1 ฃั่วโมง วันอังคารภาษาอังกฤษ 1 ชั่วโมง เป็นอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ ส่วนวันอาทิตย์อาจให้ตัวเองได้พักผ่อน 1 วันก็น่าจะเพียงพอ



การจัดตารางการอ่านหนังสือจะมีผลต่อไปในอนาคต เพราะเมื่อถึงวันสอบเราก็ไม่ต้องเหนื่อย เพราะทุกวัรเราได้ทบทวนบทเรียนอย่างสม่ำเสมออยู่แล้ว ดังนั้นเมื่อเวลาใกล้สอบเราก็แค่อ่านทบทวนอีกรอบก็จะเข้าใจบทเรียนต่าง ๆ ได้ไม่ยากเลย

หลังจากที่เราจัดตารางอ่านหนังสือไว้เรียบร้อยแล้วที่เหลือเรื่องของการปฏิบัติที่เราจะต้องสร้างกฏเกณฑ์บางอย่าง เพื่อควบคุมตัวเองโดยเริ่มจาก

การที่จะต้องทำตามเวลาที่เราจัดเอาไว้ เช่น วันจัทนทร์ 2-3 ทุ่ม จะอ่านวิชาภาษาไทย ช่วงเวลา 1 ชั่วโมงควรอ่านอย่างเต็มที่ และตั้งใจไม่เปิดโทรทัศน์ หรืออ่านในที่ที่พลุกพล่าน เพราะจะทำให้ 1 ชั่วโมง ดังกล่าวไม่ได้ผลเต็มที่นัก

เมื่อถึงเวลาตามตารางอ่านหนังสือ ไม่หากิจกรรมอื่นมาทำเด็ดขาด เช่น หากวันอังคสรต้องไปวันเกิดเพื่อนตอนเวลานั้น ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็ต้องชดเชยเวลาที่สูญเปล่า



วางเป้าหมาย เคล็ดลับการเรียนดี



การมองที่สูงในที่นี้คือ การวางเป้าหมายให้กับตัวเอง การที่มีเป้าหมายจะช่วยให้ตนเองก้าวไปข้างหน้า และเป็นแรงผลักดันได้มากเลยทีเดียว

เป้าหมายสูงนั้นแค่ไหน จะต้องดูว่ามันเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน เช่นในตอนแรก เราเรียนวิชาเคมีไม่ดีเลย คะแนนเกือบตก เป้าหมายต่อไปไม่ต้องถึงขนาดได้คะแนนสูงสุด แต่ขอสัก 60 - 70 % ก็น่าจะพอใจแล้ว การเลือกเป้าหมายสูงแต่ไม่ไกลเกินเอื้อมจะช่วยให้เราพบความสำเร็จในการเรียนได้ไม่ยาก และหากพลาดหวังก็จะไม่ผิดหวังมากด้วย

เด็กในวัยเรียนส่วนใหญ่ ไม่ค่อยมองเป้าหมายในชีวิตมากนัก เพราะว่าเห็นพ่อแม่ ผู้ปกครองจะดูแลตนเองได้ และตนเองก็ยังเด็กอยู่ด้วย บางคนคิดว่าไม่ควรหวังเพราะเรียนยังไงก็เท่าเดิม การคิดเหล่านี้เป็นความคิดที่ผิด เพราะจะทำให้ตนเองย่ำอยู่กับที่ การเรียนที่จะพัฒนาก็เท่าเดิม หรืออาจจะแย่กว่าเดิม

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิชาที่ยากและง่าย เคล็ดลับเรียนดี



การอ่านดูจะเป็นนิสัยที่ต้องปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก เพราะเด็กที่รักการอ่านส่วนใหญ่มักจะประสบความสำเร็จทางการเรียนและเด็กที่เบื่อหนังสือมาก ๆ ก็มักจะตรงข้ามกันเสมอ

การอ่านเป็นเรื่องหน้าเบื่อนั้นส่วนหนึ่งมากจากเรามักคิดว่าเนื้อหาของวิชาที่จะอ่านนั้นค่อนข้างยาก ไม่สนุก อ่านเท่าไรก็ไม่มีทางเข้าใจแน่นอน แต่ถ้าเรารู้จักวางแผนการอ่านที่ดี ก็น่าจะลดปัญหานี้ลงได้

เวลาที่เราชอบอ่านหนังสือ จะต้องอ่านหนังสือที่เราชอบปนกับเรื่องที่เราไม่ชอบ เช่น วิชาฟิสิกส์ไม่ชอบเลย คณิตศาสตร์น่าเบื่อ เคมีไม่รู้เรื่อง แต่ชอบภาษาอังกฤษ ชีววิทยา ภาษาไทย ก็ต้องเอาวิชาคณิตศาสตร์มาอ่านคู่กับภาษาไทย เพราะเมื่อเราเบื่อคณิตศาสตร์ก็ยังมีภาษาไทยที่เราชอบอยู่ แตถ้าอ่านที่ชอบจนหมด วิชาที่ไม่ชอบก็จะมากองอย่างไม่ไยดีแน่นอน

สิ่งที่สำคัญของการอ่านหนังสือให้รู้เรื่องประการหนึ่งก็คือ จะต้องอ่านวิชาที่ไม่เข้าใจให้มากกว่าวิชาที่เราถนัด เพราะยิ่งย้ำความคิดได้มากแค่ไหน โอกาสที่จะเข้าใจหรือทำได้ดีขึ้นก็มีมากขึ้นด้วย

วันอังคารที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ต้อง"เชื่อ"ก่อนที่จะทำได้ เคล็ดลับเรียนดี

ความขี้หลงขี้ลืมมักเกิดขึ้นได้เสมอ ๆ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็จะเกิดขึ้นกับเรื่องที่เราไม่ค่อยสนใจสักเท่าไร เราก็มักจะไม่ค่อยใส่ใจกับมันมากนัก ในเรื่องของการเรียนก็เช่นกัน การจะจำบทเรียนได้ไม่ใช่เรื่องยากเลย หากเรามีความเชื่อว่าเราจำได้ และตั้งใจจำสิ่งนั้น ๆ จริง ๆ



การปลูกฝังความเชื่อในเรื่องที่ว่าตนต้องจำให้ได้ นั้นเพราะเด็กที่อยู่ในวัยเรียนส่วนใหญ่มักจะดูถูกความจำของตนเอง ว่ามันแย่มาก ขี้ลืมซะเหลือเกิน การดูถูกตัวเองแบบนี้ เป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ เพราะฉะนั้นต้องบอกตัวเองเสียใหม่ ว่าฉันต้องจำให้ได้ เมื่อบอกตัวเองอย่างนี้แล้วความมั่นใจก็จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

เมื่อเราเกิดความเชื่อมั่นในตัวเองแล้วถึงเวลาที่เราจะตั้งใจที่จะเอาจริงเอาจังเสียที หลายคยคงไม่เข้าใจตัวเองด้วยซ้ำว่า ทำไมเนื้อเพลง หรือละครทีวี เราจำได้ ร้องเพลงได้ หรือเด็กบางคนจำชื่อตัวละครได้ แต่กลับจำคำศัพท์ หรือ บทเรียนไม่ได้ ซึ่งสาเหตุสำคัญก็มาจากความไม่สนใจ และไม่ตั้งใจที่จะจำเนื้อหาบทเรียนนั่นเอง

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การอ่านเพื่อการสอบ เคล็ดลับเรียนดี

การเรียนที่โรงเรียนนั้นในแต่ละระดับชั้นก็เรียนกันตั้ง 9-10 วิชา แต่เวลาสอบกลับสอบวันละ 3-4 วิชา ซึ่งนับว่าค่อนข้างหนัก และเรื่องการอ่านหนังสือสอบไม่ทันก็จะเป็นปัญหาตามมาอย่างแน่นอน

ความจริงแล้วการอ่านหนังสือให้ทันและไม่ให้ลืมที่อ่านไป ก่อนวันสอบไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องมีเคล็ดลับเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะช่วยให้อ่านทันและจำได้



การวางแผนอ่านหนังสือสอบส่วนใหญ่ก็จะเอาจริงเอาจังกันตอนตารางสอบประกาศออกมานั่นแหละ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่สายเกินไป เพราะเมื่อรู้ตารางสอบแล้วก็เริ่มจากดูตารางสอบเลยว่าแต่ละวันสอบอะไรบ้าง สอบกี่วัน วิชาไหนสอบก่อน สอบหลัง เมื่อดูเสร็จแล้วก็เริ่มจัดอันดับการอ่านหนังสือ โดยเคล็ดลับอยู่ที่การดูว่าวิชาไหนสอบสุดท้ายให้อ่านวิชานั้นก่อนวิชาอื่น ๆ จากนั้นอ่านไล่จากท้ายมาจนถึงวิชาแรก ซึ่งพอไกลวันสอบจริงของวิชาแรกพอดี แล้วความจำก็จะสดพอ



จากนั้นรอบสองก็อ่านตามลำดับ คืออ่านวิชาแรก จนสุดท้ายก็จะสอบเสร็จพอดี การอ่านเช่นนี้จะช่วยให้เวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้นมีคุณค่า และความจำก็สดใส ผลสอบก็ดีตามมาแน่นอน เคล็ดลับง่าย ๆ ของการดูหนังสือสอบดีคงไม่ยากเกินไปอย่างแน่นอน


วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การจดบันทึกช่วยได้มาก เคล็ดลับเรียนดี

มีผู้เชียวชาญหลายคนค้นพบว่าความจำของเราทุกคน ถูกรบกวนด้วยคลื่นรบกวนอยู่ตลอดเวลา และจากการวิจัยเด็กในวัยเรียนพบว่าเด็กในชั้นเรียนนั้นสามารถจดจำสิ่งที่ครูสอนในชั่วโมงนั้น ๆ ได้ถึง 50 % ของรายละเอียดทั้งหมด



แต่เมื่อใดก็ตามที่เรียนวิชาต่อไป ความจำเนื้อหาวิชาแรกจะลดลง 30 % ซึ่งจะจำได้เพียง 20 % เท่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่าการเรียนวิชาที่ไกล้เคียงกันอย่าง สังคม และภาษาไทย ความจำจะลดลงมากกว่าการเรียนวิชาที่ต่างกันเช่น ภาษาไทย และคณิตศาสตร์

ดังนั้นจากข้อมูลข้างต้นเราจะเห็นว่าสมองและหน่วยความจำของเรามีข้อจำกัด และถูกรบกวนจากสิ่งรอบข้างอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการที่จะจำสิ่งที่ครู อาจารย์สอนและบอกแต่เพียงอย่างเดียวนั้นคงเป็นไปไม่ได้ เพราะไม่นานเราจะลืมรายละเอียดต่าง ๆ ไปในที่สุด

สิ่งที่ช่วยแก้ไข และลดปัญหาในเรื่องของความจำของเราได้คือการจดบันทึก การจดบันทึกช่วยให้เราได้ทบทวนบทเรียนที่เคยเรียนไปแล้วได้เป็นอย่างดี เพราะเมื่อเราเปิดอ่าน เราจะรู้สึกได้ว่าทบทวนและเรียนในชั้นเรียนในวันนั้น ๆ อีกครั้ง


จัดระเบียบให้ตัวเอง

การมีระเบียบในตัวเองฟังดูแล้วจะต้องทำตัวตามกฏและค่อนข้างจะอึดอัด เพราะเห็นว่าต้องอาศัยกฏเกณฑ์ต่าง ๆ และต้องทำตามกฏเกณฑ์นั้น ๆ อยู่เสมอ แต่ความมีระเบียบในที่นี้คือการวางแผนและทำเรื่องการเรียนให้เป็นระเบียบ ซึ่งช่วยให้เป็นคนเก่งได้ไม่ยากเลย



การมีระเบียบเริ่มจากการเก็บให้เป็นที่ ตำราเรียนต้องแบ่งออกเป็นแต่ละวิชาให้ชัดเจน สะดวกต่อการค้นหา การหยิบขึ้นมาอ่าน หรือการค้นคว้าต่าง ๆ เช่น วิชาคณติศาสตร์ ต้องมีแบบฝึกหัด แบบเรียน หรือคู่มือสูตรต่าง ๆ ก็เก็บไว้ใกล้ ๆ กัน ไม่เก็บรวมกันทุกวิชา หาที่คั่นหนังสือมาวางให้เรียบร้อย เราก็ไม่อยากจะหาหนังสือมาอ่าน ดังนั้นควรเริ่มเก็บหนังสือ และแบบเรียนต่าง ๆ ให้เป็นสัดส่วน เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ได้อีกทางหนึ่ง



ทางที่ดีก็คือการจดบันทึก 1 วิชา ต่อ 1 เล่มเท่านั้น และนอกจากนี้จะต้องพยายามจดให้เป็นระเบียบ มีประเด็น มีหัวข้อ เพื่อจะง่ายแก่การจดจำ หลายคนลายมือไม่สวย เขียนแล้วดูยุ่ง อ่านไม่ออก แต่ถ้าเราจดให้มันเป็นระเบียบไม่เป็นพรืดไปหมด เราก็ย่อมอ่านลายมือของตัวเองออกอยู่แล้ว

แลกเปลี่ยนความรู้



ความถนัดและความชอบของแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ส่วนใหญ่เรามักจะหาความรู้ส่วนที่เราขาดเพื่อทดแทนให้มากขึ้นเสมอ ความจริงแล้วในเรื่องของการเรียนนั้น การแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ต่อกันถือเป็นเรื่องที่สร้างสรรค์ และหากเกิดขึ้นแล้วก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนของเรามากขึ้นด้วย โดยไม่ต้องพึ่งสถาบันกวดวิชาที่ไหนเลย

การแลกเปลี่ยนความคิดที่ว่านี้คือการติวหรือทบทวนความรู้กันนั่นเอง โดยเพื่อนของเราเอง ที่จะช่วยแสดงหรือเสนอแนะแนวทางที่เป็นประโยชน์แก่กันและกันได้ การแลกเปลี่ยนความคิดเริ่มจาก หาความถนัดของแต่ละคน คนหนึ่งก็วิชาคณิตศาสตร์ อีกคนวิชาภาษาอังกฤษ คนต่อไปวิชาสังคมเป็นต้น จากนั้นก็เริ่มติวกันคนละวิชา การแลกเปลี่ยนความรู้เช่นนี้จะทำให้เราเข้าใจบทเรียนได้มากขึ้น เพราะจะเกิดคำถามและแก้ไขให้เข้าใจตามมานั่นเอง

วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สละความบันเทิง ความสนุก ลงบ้าง

ในช่วงวัยรุ่น วัยเรียน ความบันเทิง ความสนุกสนานเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการอย่างมาก บางคนติดเกมส์ ติดเพลงจนลืมการเรียน และก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การเรียนตกต่ำลงเรื่อย ๆ





ถ้าเราเองรู้ตัวว่าเราติดตามความบันเทิงเหล่านี้จนเบื่อการเรียน แต่ก็อยากที่จะพัฒนาตัวเองให้เรียนดีขึ้น เราต้องสละเวลาแห่งความสนุกเหล่านั้นลงไปบ้าง และหันมาให้ความสำคัญต่อการเรียนมากขึ้น ก็น่าจะดี

เด็กที่มีผลการเรียนดีส่วนใหญ่จะใช้เวลากับการเรียนมาากกว่าเรื่องอื่น ๆ แต่เขาก็มักจะจัดเวลาเล่นไว้พักผ่อนความตึงเครียดจากการเรียนไปพร้อม ๆ กันเสมอ

อาหาร 3 มื้อที่ขาดไม่ได้

ในวัยเรียนเป็นวัยที่ต้องการใช้พลังกาย กำลังใจ และพลังสมองเป็นอย่างมาก ดังนั้นการกินอาหารที่ครบ 5 หมู่ และครบทั้งสามมื้อก็นับเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาความรู้ให้ก้าวไกลได้อีกด้วย



ช่วงที่พ่อแม่ต้องทำงานและเร่งรีบกับการงาน เด็กนักเรียนส่วนใหญ่ก็ต้องออกจากบ้านแต่เช้าพร้อมพ่อแม่ เพื่อหนีปัญหารถติดและการทำเช่นนี้เด็กนักเรียนส่วนใหญ่จะต้องงดอาหารเช้า เพราะไม่ทันเวลา ส่วนเด็กที่เล็กหน่อย ก็ต้องกินข้าวในรถ

ทางการแพทย์บอกว่าอาหารมื้อเช้าสำคัญที่สุด อาหารมื้อเช้าจะกระตุ้นสมองที่อดอาหารมาทั้งคืนให้กระปรี้กระเปร่าพร้อมที่จะทำงานตลอดช่วงเวลาของวันใหม่ แต่หากเรางดอาหารมื้อเช้านี่เท่ากับว่าการเรียนในช่วงเช้าของเราขาดประสิทธิภาพ เพราะสมองเราขาดการบำรุง

เวลาเรียนต้องตั้งใจ

การเข้าไปเรียนในห้องเรียนตามแผนการเรียนของครูและตารางสอน เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะสร้างความเข้าใจในบทเรียน เพราะห้องเรียนเป็นสิ่งเปิดความรู้สู่สมอง สร้างสติปัญญาให้คิดให้ทำแต่สิ่งที่ดี และเป็นประโยชน์



บางคนไม่ชอบเข้าเรียน หรือเข้าเรียนแต่ไม่ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่ คิดหวังพึ่งร้านถ่ายเอกสารแต่เพียงอย่างเดียว ก็คงไม่ดีต่อชีวิตทางการศึกษา เพราะเท่ากับว่าการเข้าเรียนเป็นเรื่องที่ไร้ประโยชน์ การศึกษาเป็นเรื่องที่ผิดหวังไปเลย

หากเข้าเรียนและตั้งใจเต็มที่ นอกจากจะไม่ต้องอ่านหนังสือรีบ ๆ และปริมาณมาก ๆ แล้วยังช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าคุณพ่อ คุณแม่ ที่ต้องจ่ายไปกับสถาบันกวดวิชาต่าง ๆ จำนวนมาก ๆ ด้วย




ในเรื่องของการเรียนนั้น อาจารย์หรือครูที่สอนก็จะสอนอย่างเต็มที่อยู่แล้ว หากนักเรียนในชั้นเรียนตั้งใจเรียน สงสัยก็ถามออกมามันน่าจะเป็นการเรียนอย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องไปหาเรียนที่อื่นหรือทบทวนบทเรียนมากมาย ความตั้งใจเรียนขณะที่อยู่ในห้องจึงเป็นโอกาสดีที่สร้างผลการเรียนเป็นที่น่าพอใจให้กับตนเองได้

เลือกให้เหมาะกับตัวเอง

การเรียนให้เก่งให้ดีนั้น เราอาจจะมุ่งไปในทางที่ไม่เหมือนกับคนอื่นได้ แต่ขอให้เรียนทางที่เราถนัด และเหมาะสมกับตัวเองก็เพียงพอแล้ว



บางคนตั้งเป้าหมายในชีวิตอยากเรียนหมอ เพราะถูกปลูกฝังมาแต่เด็ก และค่านิยมว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติ และมีแต่คนที่ยกย่องส่งเสริม แต่ความจริงแล้วไม่ชอบวิชาชีววิทยา ทั้ง ๆ ที่เป็นวิชาสำคัญของหมอเลยทีเดียว และจริง ๆ ชอบวิชาคณิตศาสตร์ ชอบคำนวน ดังนั้นควรเลือกเรียนบริหาร หรือบัญชีมากกว่าแพทย์ เป็นต้น

เมื่อเราเลือกทางที่เราถนัด เราสามารถทำให้มันเป็นรูปธรรมขึ้นมาได้ เราก็จะชอบ และทำในสิ่งที่ชอบด้วยความสุข แล้วความสำเร็จก็ย่อมตามมาแน่นอน

ตัวเราเองเป็นคนกำหนดทางเดิน และความชอบ หรือความสนใจ การเลือกทางที่ดีที่สุดให้ตัวเอง แล้วเรื่องผลการเรียนที่น่าพอใจก็จะตามมาอย่างแน่นอน

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ศึกษาคอนเซ็ปต์ของแต่ละวิชา

ความถนัดของแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน และนั่นก๋ไม่แตกต่างอะไรกับการที่คนหนึ่งอาจจะถนัดวิชาคณิตศาสตร์แต่อีกคนอาจจะถนัดวิชาภาษาไทย เพราะว่าทักษะและความสนใจของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่สำหรับคนที่เรียนดีทุกวิชาเขาย่อมมีเคล็ดลับอย่างแน่นอน



เหมือนกับว่าหาแนวคิดหรือคอนเซ็บต์ของแต่ละวิชา การจะเรียนให้ดีได้ทุกวิชานั้นเราต้องเข้าใจเนื้อหาของแต่ละวิชาก่อนว่าเรียนเกี่ยวกับอะไร จุดประสงค์ของการเรียนวิชาต่าง ๆ เหล่านี้เพื่ออะไร เมื่อเข้าใจเรื่องของแต่ละวิชาแล้ว การจะเรียนให้ดีหรือประสบความสำเร็จนั้นไม่ยากเลย



หลังจากที่เรารู้ว่าแต่ละวิชาต้องเรียน ต้องอ่านอย่างไร ก็ต้องเริ่มวางแผนและลงมือศึกษาเนื้อหา และเตรียมตัวทันที อย่างวิชาคณิตศาสตร์เป็นเรื่องของการคำนวณ แน่นอนว่าการฝึกการทำข้อสอบ แก้โจทย์ ทำแบบฝึกหัดยิ่งมาก ยิ่งเป็นผลดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์ เพราะเป็นวิชาที่ต้องฝึกทักษะทางความคิดตลอดเวลา แต่ก็มีคนแนะนำว่าไม่ควรฝึกทำเกินวันละ 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้สมองเราล้าเกินไป

วิชาภาษาอังกฤษนอกจากจะเรียนรู้หลักภาษาแล้ว การท่องจำคำศัพท์ก็คือเป็นหัวใจสำคัญของการเรียนวิชานี้เลยทีเดียว ซึ่งเราต้องจำศัพท์ของแต่ละบทเรียนให้ได้

วิชาภาษาไทย และสังคม วิชาเหล่านี้ต้องมีเนื้อหามากที่จำเป็นต้องท่องจำ แต่การท่องจำได้ต้องทำความเข้าใจและจินตนาการ ตามตัวหนังสือ เช่น การเสียกรุงศรี ครั้งที่ 2 ในวิชาสังคมศึกษา เราต้องพยายามทำความเข้าใจและลำดับเหตุการก่อน เป็นต้น

หรือบางวิชาเช่น การเรียนหรือการใช้ภาษาไทย วิชาเหล่านี้ต้องอาศัยการฝึกตัวเอง โดยเริ่มจากการอ่านมาก ๆ โลกทัศน์จะได้กว้างและการฝึกเขียนมาก ๆ เพื่อแสดงออกทางความคิดของตนเอง

การสะสมความรู้

"ไฟลนก้น" เป็นสำนวนที่บอกถึงอาการรีบร้อนได้เป็นอย่างดี และเรามักจะเป็นเช่นนั้นเสมอ การเรียนไม่ว่าจะเป็นการอ่าน การทบทวนบทเรียน หรือการทำการบ้าน งานที่ได้รับมอบหมาย เรามักจะทำเอาตอนที่ใกล้ถึงเวลา เช่น อาจารย์มอบหมายงานเขียนเรื่องหนึ่งนัดส่งวันอังคารที่ 21 กันยายน แต่เรามักจะใช้เวลาก่อนหน้านี้แบบเสียประโยชน์ และมาลงมือทำอย่างจริงจัง ก็คือวันที่ 20 กันยายน คืนก่อนส่งงานนี่แหละ



การทำเช่นนี้นอกจากจะไม่ทำให้เราประสบความสำเร็จทางการเรียนแล้ว เราก็จะเป็นคนที่ทำอะไรลวก ๆ ขาดคุณภาพ เพระาเราไม่มีเวลาและรีบทำงานให้เสร็จ ๆ เท่านั้น การทบทวน กลั่นกรองก็จะตกหล่นไปแน่นอน ทางที่ดีที่สุดนอกจากจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ได้รับมอบหมายแล้ว เราจะต้องไม่รอเวลา หรือผลัดวันประกันพรุ่ง เพราะผลตอบกลับมาย่อมไม่เกิดผลประโยชน์อย่างแน่นอน

สถานที่ที่เสริมความรู้

สถานที่ในที่นี้คงไม่ต้องพูดถึงชั้นเรียน เพราะทางโรงเรียนส่วนใหญ่จะจัดสถานที่ให้เหมาะสมกับการเรียนอยู่แล้ว แต่สถานที่ของการเรียนรู้ นั่นคือ บ้าน หอพัก หรือที่ที่เราต้องอ่านหนังสือ



เราต้องดูทุกอย่างให้พร้อมให้เรียบร้อย เพื่อจะได้เรียนรู้อย่างเต็มที่ อากาศและบรรยากาศต้องดี อากาศที่ว่าต้องมีการถ่ายเทที่สะดวก ไม่อึดอัด ทึบ จนหงุดหงิดอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ส่วนบรรยากาศต้องเงียบ ไม่พลุกพล่าน ซึ่งต้องเป็นที่ ๆ ทำให้เกิดสมาธิได้นั่นเอง

แสงสว่าง เรื่องของแสงสว่างนี้สำคัญ เพราะหาไม่พอต้องเพ่งตัวหนังสือจนสายตาเสีย หรือจ้าเกินไปก็แสบตา แสงสว่างนี้ถ้าน้อยไปก็จะทำให้เราเกิดอาการง่วงนอนตลอดเวลา และผลจะเป็นว่าหนังสืออ่านเรา มากกว่าเราอ่านหนังสือ

โต๊ะและเก้าอี้ ระดับของหนังสือต้องพอดีกับสายตา ไม่ต่ำมากจนต้องก้ม เพราะจะปวดหลัง เก้าอี้ต้องนั่งสบาย และท่านั่งต้องหลังตรง เพราะการนั่งตัวตรงเกิดสมาธิได้ง่าย

สุขภาพที่ส่งเสริมการศึกษา

"การที่สมองจะพัฒนาย่อมีร่างกายที่ดีก่อน" คำพูดนี้เป็นจริงอย่างที่สุด จะเห็นได้จากเด็กที่เรียนดี มักจะมีและสุขภาพใจที่ดี นั่นหมายถึงความพร้อมที่จะคิดจะอ่าน จะเรียน หรือจะพูด จะทำในสิ่งที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ต่อตนเองมากที่สุด



หากเราป่วย หรือร่างกายที่ค่อนข้างอ่อนแอ สมองของเราก็ย่อมจะคิดไม่ออก หยุดชะงัก ไม่ลื่นใหลอย่างแน่นอน เล่นกีฬา ตลอดจนดูแลรักษาร่างกายไม่ให้อ่อนเพลีย อย่างการหักโหมการเรียน หรือ อ่านหนังสือหนักเกินไป ก็ช่วยให้ร่างกายสมบูรณ์พร้อมจะรัยสถานะการณ์ หรือการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพมากยิ่งขึ้น